HK Vogue : The Asian Inspiration

HK Vogue : The Asian Inspiration Contact : Willy Tel. 093 649 2288 email : hkvoguethailand@gmail.com
Bookmark and Share

วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประโยชน์ของกะหล่ำดอกต่อสุขภาพ Health Benefits of Cauliflower by LASIK Center Laser Vision

ขอบคุณภาพประกอบจาก foodbykristin.wordpress.com

Miracle Youcando Healthy Tips ขอบคุณภาพประกอบจาก google ที่มา : LASIK @ Laser Vision International LASIK Center > eye care tips > LASIK HELTH CORNER โทรปรึกษา หรือจองคิวตรวจ โทร 02-511-2111, 02-939-6006 E-mail : info@laservisionthai.com

ประโยชน์ของกะหล่ำดอกต่อสุขภาพ (Cauliflower)
Health Benefits of Cauliflower.

ชื่อวิทยาศาสตร์  Brassica oleracea L. var. botrytis L. Cruciferae
ชื่อสามัญ            Cauliflower
วงศ์                     BRASSICACEAE

กะหล่ำดอก (Cauliflower) เป็นพืชผักที่ใช้บริโภคส่วนของดอกที่อยู่บริเวณปลายยอดของลำต้น ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนสีขาวถึงเหลืองอ่อน อัดตัว กันแน่น อวบและกรอบ ซึ่งนิยมเรียกส่วนดังกล่าวว่า ดอกกะหล่ำ ถ้าหากปล่อยให้เจริญเติบโตพัฒนาต่อไป ก็จะเป็นช่อดอก และ ติดเมล็ดได้

กะหล่ำดอก (Cauliflower) เป็นผักอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมนำมาประกอบอาหาร เหตุที่กะหล่ำดอกได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากเนื่องจาก มีรสชาติ อร่อย กรอบหวาน มีสีดอกเหลืองอ่อนน่ารับประทาน ใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง ทั้งผัด แกง ใส่ก๋วยเตี๋ยว หรืออื่นๆ อีกมากมาย ไม่ค่อยเสียหายระหว่างขนส่ง เก็บไว้ได้นานกว่าผักอื่นหลายชนิด เพราะลำต้นมีความแข็งแรง เนื้อแน่น และไม่อวบน้ำ

กะหล่ำดอก (Cauliflower) เป็นผักตระกูลเดียวกับกะหล่ำปลี และบรอกโคลี มีวิตามินซีสูงมาก ดอกกะหล่ำ 100 กรัม มีวิตามินซีสูงถึง 96 มิลลิกรัม สูงกว่าที่ร่างกายเราต้องการใน 1 วัน คือ 60 มิลลิกรัม เสียอีก นอกจากจะช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันแล้ว ยังช่วยเพิ่มปริมาณสเปิร์มและทำให้สเปิร์มแข็งแรงด้วย ในดอกกะหล่ำมีสารซัลโฟราเฟนที่เพิ่มปริมาณแอนไซม์ที่เป็นหลักในการต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง ช่วยป้องกันมะเร็งที่เต้านมและลำไส้ใหญ่ได้ดี

ประกอบด้วยสารเอนไซม์ต้านมะเร็งชื่อ 

- ซัลโฟราเฟน (sulforaphane)
- สารฟีโนลิกส์ (phenolics)
- สารไอโซไทโอไซยาเนท (isothiocyanates)
- สารผลึกอินโดล (indoles)
- อินโดล ทรี คาร์บินัล (indole-3-carbinal)
- ไดไทอัลไทโอน (dithiolthiones)
- กลูโคไซโนเลท (glucosinolates)
- กรดโฟลิก และ
- คูมารีน ( folic acid & coumarines)

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกะหล่ำดิบจะมีวิตามินซีสูง มีธาตุโพแทสเซียม กำมะถัน และเส้นใยมาก

กะหล่ำดอก ประกอบด้วยสารอาหารดังต่อไปนี้คือ

- วิตามินเอ (Total VitaminA (RE)) 2 Ug / 100 G
- เบต้า เคโรทีน (Betacarotene) 15 Ug / 100 G
- วิตามินบี 1 (Thiamin) .02 Mg / 100 G
- วิตามินบี 2 (Riboflavin) .15 Mg / 100 G
- ไนอะซิน (Niacin) วิตามิน บี3 .8 Mg / 100 G
- วิตามินซี (VitaminC) 56 Mg / 100 G
- พลังงาน (Energy)13 KCAL / 100 G
- น้ำ (Water) 96.4 G / 100 G
- โปรตีน (Protein) 1 G / 100 G
- ไขมัน (Fat) .1 G / 100 G
- คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) 2.1 G / 100 G
- ใยอาหาร(กาก) (Crude/ Dietar) (0.5) G / 100 G
- เถ้า (Ash) .4 G / 100 G
- แคลเซียม (Calcium) 22 Mg / 100 G
- ฟอสฟอรัส (Phosporu ) 23 Mg / 100 G
- ธาตุเหล็ก (Iron) tr. Mg / 100 G

จอประสาทตาเสื่อม : 

กะหล่ำดอก (Cauliflower) อุดมไปด้วยวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระ ดังนั้น อาจจะมีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงของจอประสาทตาเสื่อมที่เกี่ยวข้องกับอายุ (AMD) ซึ่งสามารถนำไปสู่การตาบอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ ปัจจุบัน sulforaphane ในกะหล่ำปกป้องเนื้อเยื่อจอประสาทตาจากความเสียหายที่เกิดจากความเครียดออกซิเดชันป้องกันการเสื่อม ป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นที่เกิดขึ้นตามช่วงอายุ และโรคตาต่างๆเช่นต้อกระจก

วิธีการใช้กะหล่ำดอก

โดยให้นำกะหล่ำดอกไปคั้นน้ำ แล้วนำน้ำกะหล่ำดอกที่คั้นได้ไปใช้ อมกลั้วปาก พบว่าสามารถรักษาแผลในปาก แก้เจ็บคอ

นอกจากนี้ยังพบว่าในน้ำกะหล่ำดอกสดช่วยรักษา แผลเรื้อรัง โรคเรื้อนกวาง ปวดศรีษะชนิดเรื้อรัง หอบหืด หลอดลมอักเสบ โดยแนะนำให้ดื่มประมาณ 1- 2 ออนซ์ทุกวัน

และหากรับประทานกะหล่ำดอกสดมีคำแนะนำว่า ในการรับประทานกะหล่ำดอกอย่าปรุงสุกเกินไป เพราะการปรุงสุกเกินไปจะทำลายคุณสมบัติทางยาของกะหล่ำดอก
Read more : http://buff.ly/1bW75b5
คุยกับทีมแพทย์เลสิก : http://buff.ly/18UuAgm
More info : http://buff.ly/18cgDjr
ขอบคุณภาพประกอบจาก foodbykristin.wordpress.com

ข้อมูลเพิ่มเติม :-

Nutrients in Cauliflower 1.00 cup raw (107.00 grams) Nutrient%Daily Value
- vitamin C 8 5.9%
- vitamin K  20.7%
- folate1  5.2%
- choline 1 1.1%
- vitamin B  610%
- potassium  9.1%
- fiber  8.5%
- manganese  8.5%
- molybdenum  7.1%
- vitamin B  57.1%
- tryptophan  6.2%
- phosphorus  4.7%
- protein  4.1%
- magnesium  4%
- vitamin B  23.5%
- vitamin B1  3.3%
- vitamin B3  2.7%
- iron  2.5%
- Calories (26)  1%

Introduction to Cauliflower

Cauliflower belongs to the Brassicaceae family, which also includes broccoli, kale, and cabbage. Cauliflower derives its name from Latin caulis which means cabbage with a flower. The florets on the head of the cauliflower, also known as curd, are tightly clustered and consist of immature flower buds attached to a central stalk. To protect the flavor and softness of the cauliflower heads, they are protected from the sunlight to prevent development of chlorophyll pigment and over-maturity.

Cauliflower has been suggested to be native to ancient Asia, but re-emerged in the Mediterranean region, Turkey, and Italy around 600 BC. Around the mid-16th century, cauliflower achieved recognition in France and Northern Europe. Today, India, China, Italy, France, and the United States are among the top producers of cauliflower throughout the world.

Nutritional Facts of Cauliflower

Cauliflower is an excellent source of vitamin C (ascorbic acid), folate, vitamin K (phylloquinone), and vitamin B-6. Vitamin B1 (thiamine), B2 (riboflavin), B3 (niacin), and E (alpha-tocopherol) are also present in small quantities. Cauliflower provides vital minerals such as calcium, magnesium, phosphorous, potassium, and manganese without adding any harmful cholesterol. It is a source of protein and offers very low amounts of fats. A substantial amount of the fat it does contain comes from unsaturated fats and essential omega-3 fatty acids. It also provides dietary fiber and contains a small amount of natural sugars as compared to other members of its botanical relatives, such as broccoli.
Thanks English Info From : Organic Facts
http://goo.gl/Xa07QC

คำแนะนำ

Disclaimer : บทความที่เกี่ยวเนื่องกับเนื้อหาสุขภาพทั้งหมด ทางเว็บไซต์ได้รวบรวมไว้เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทางด้านสุขภาพแก่ผู้เข้าชมเท่านั้น จึงไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงหรือใช้แทนการวินิจฉัยในการรักษาของแพทย์ได้ หากมีการนำข้อมูลในเว็บไซต์ไปใช้โดยไม่ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทางเว็บไซต์จะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้
***ในแต่ละวันควรบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ และทานอาหารให้หลากหลาย ไม่รับประทานอาหารซ้ำๆกันทุกวัน เพื่อประโยชน์ต่อร่างกายและมีสุขภาพที่ดี***
ข้อแนะนำ : ควรศึกษาข้อมูลจากหลากหลายที่ และเปรียบเทียบข้อมูลเพื่อความชัดเจน เพราะข้อมูลบางอย่างอาจจะยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนอย่างชัดเจน และหากมีข้อสงสัยใดๆควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวของท่าน และ/หรือ นักกำหนดอาหาร (dietitian) - นักโภชนาการ (nutritionist)
"Ask Healthy Living" is for informational purposes only and is not a substitute for medical advice. Please consult a qualified health care professional for personalized medical advice.

บทความที่ได้รับความนิยม