HK Vogue : The Asian Inspiration

HK Vogue : The Asian Inspiration Contact : Willy Tel. 093 649 2288 email : hkvoguethailand@gmail.com
Bookmark and Share

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประโยชน์ของผลเชอร์รี่ต่อสุขภาพ The Health Benefits of Cherry by LASIK Center Laser Vision

ขอบคุณภาพประกอบจาก hdwallpaperspot.com

Miracle Youcando Healthy Tips ขอบคุณภาพประกอบจาก google ที่มา : LASIK @ Laser Vision International LASIK Center > eye care tips > LASIK HELTH CORNER โทรปรึกษา หรือจองคิวตรวจ โทร 02-511-2111, 02-939-6006 E-mail : info@laservisionthai.com

ประโยชน์ของผลเชอร์รี่ต่อสุขภาพ (Cherry) 
The Health Benefits of Cherry.

เชอร์รี่ (Cherry) เป็นผลไม้ที่มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว ลักษณะของมีลักษณะกลม ขนาดเล็ก เปลือกมีทั้งสีแดงเข้ม สีแดง สีส้ม และสีเหลือง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

โดยทั่วไปแล้วเราจะแบ่งเชอร์รี่ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเชอร์รี่หวาน และกลุ่มเชอร์รี่หวานอมเปรี้ยว โดยแหล่งที่ที่เพาะปลูกเชอร์รี่มากที่สุดก็คือทวีปอเมริกา ทวีปยุโรป ออสเตรเลียรวมไปถึงญี่ปุ่น เพราะเชอร์รี่เป็นผลไม้ที่ชอบอากาศหนาวเย็น

เชอร์รี่ (Cherry) เป็นผลไม้ที่นิยมซื้อมารับประทานสดๆ หรือจะนำไปคั้นเป็นน้ำเชอร์รี่ก็ได้ หรือจะนำไปทำขนมต่างๆ เช่น แยมเชอร์รี่ พายเชอร์รี่ เชอร์รี่เชื่อม โดยสายพันธุ์เชอร์รี่ที่นิยมนำมารับประทานมากที่สุดก็คือ เชอร์รี่ป่า (Prunus_avium)

คุณค่าทางโภชนาการของเชอร์รี่หวาน (สีแดง) ต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 63 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 16 กรัม
- น้ำ 82.25 กรัม
- น้ำตาล 12.8 กรัม
- เส้นใย 2.1 กรัม
- ไขมัน 0.2 กรัม
- โปรตีน 1.06 กรัม
- วิตามินเอ 3 ไมโครกรัม 0%เชอร์รี่
- เบต้าแคโรทีน 38 ไมโครกรัม 0%
- ลูทีน และ ซีแซนทีน 85 ไมโครกรัม
- วิตามินบี1 0.027 มิลลิกรัม 2%
- วิตามินบี2 0.033 มิลลิกรัม 3%
- วิตามินบี3 0.154 มิลลิกรัม 1%
- วิตามินบี5 0.199 มิลลิกรัม 4%
- วิตามินบี6 0.049 มิลลิกรัม 4%
- วิตามินบี9 4 ไมโครกรัม 1%
- โคลีน 6.1 มิลลิกรัม 1%
- วิตามินซี 7 มิลลิกรัม 8%
- วิตามินเค 2.1 ไมโครกรัม 2%
- ธาตุแคลเซียม 13 มิลลิกรัม 1%
- ธาตุเหล็ก 0.36 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุแมกนีเซียม 11 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุแมงกานีส 0.07 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุฟอสฟอรัส 21 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุโพแทสเซียม 222 มิลลิกรัม 5%
- ธาตุโซเดียม 0 มิลลิกรัม 0%
- ธาตุสังกะสี 0.07 มิลลิกรัม 1%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

ตัวอย่างประโยชน์ของผลเชอร์รี่ (Cherry) 

- ช่วยลดอาการซึมเศร้าได้ดีกว่าการรับประทานยา ทำให้อารมณ์ดีมีความสุข เพราะมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin)
- ช่วยลดระดับของไขมันเลว หรือไขมันชนิดร้าย (LDL)
- ยังมีสรรพคุณช่วยระบาย และยังช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยบรรเทาอาการปวด แพทย์ตะวันตกเรียกเชอร์รี่ว่า “แอสไพรินธรรมชาติ” ช่วยลดการอักเสบ บรรเทาอาการเจ็บปวด เนื่องมาจากการออกกำลังกาย หรือกิจกรรมหนักๆ
- ช่วยป้องกันและรักษาโรคเกาต์ อาการข้ออักเสบปวดบวมตามข้อ ได้มากถึง 37% หากรับประทานต่อเนื่องเป็นประจำ
- ช่วยในการสังเคราะห์คอลลาเจน
- ช่วยลดการผลิตเมลานิน จึงมีส่วนช่วยทำให้ผิวคุณขาวขึ้นได้
- การรับประทานเชอร์รี่จะช่วยทำให้ร่างกายรู้สึกชดชื่น และเพิ่มความกระปรี้กระเปร่ามากขึ้น
- ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
- ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย และความแก่สารโพลีฟีนอล (Pholyphenol) ในผลเชอร์รี่ช่วยป้องกันเซลล์ดีเอ็นเอถูกทำลายได้
- ประโยชน์เชอรี่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้
- สารไลโคพีน (Lycopene) ในผลเชอร์รี่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งมดลูก มะเร็งปอด มะเร็งต่อมลูกหมากได้ถึงร้อยละ 20 เป็นต้น

สารไลโคปีน (Lycopene) แคโรทีนอยด์ชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญ ของสีแดง ของมะเขือเทศ และแตงโม ที่มีโครงสร้างโมเลกุล ที่ยาวกว่าแคโรทีนอยด์ชนิดอื่นๆทำให้ ไลโคปีน เป็นแคโรทีนอยด์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูล อิสระซึ่งจะช่วยลดความผิดปกติ และความเสื่อม ของเซลล์ อันเนื่องมาจากการทำลายของอนุมูลอิสระ และไลโคปีน อาจจะลดความรุนแรงของการเผาไหม้ ของผิวหนังจากแสงอาทิตย์ได้

สารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ที่พบในเชอร์รี่ (Cherry) ยังช่วยลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ ช่วยบำรุงสุขภาพดวงตาและชะลอความเสื่อมของเซลล์ดวงตาและจอประสาทตา ช่วยลดการเสี่ยงจากการเกิดโรคต้อกระจก
Read more : วิตามิน แร่ธาตุ http://buff.ly/18ifPty
คุยกับทีมแพทย์เลสิก : http://buff.ly/1eip2Ad
More info : http://buff.ly/18ifPtA
ขอบคุณภาพประกอบจาก hdwallpaperspot.com

ข้อควรระวัง

เชอร์รี่ (Cherry) เป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ แต่ก็มีพิษซ่อนอยู่ในเมล็ดด้วยนั่นก็คือ ไฮโดรเจนไซนาไนด์ โดยเฉพาะเวลาที่เคี้ยว หรือบดผลเล็กๆของเชอร์รี่ เชอร์รี่จะผลิตสารนี้โดยอัตโนมัติ แต่เป็นพิษที่ค่อนข้างอ่อน อย่างมากก็แค่ทำให้มีอาการปวดศีรษะ เวียนหัว อาเจียน แต่หากได้รับมากจนเกินไปก็อาจจะเป็นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิต อาจทำให้ไตวายหรือเกิดอาการชักจนเสียชีวิตได้

และสิ่งที่จะระวังอีกเรื่องก็คือ เชอร์รี่ที่เราเห็นอยู่บนขนมเค้กตามท้องตลาด ที่มีสีแดงดูน่ารับประทานส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการย้อมสี การเลือกรับประทานก็ควรดูให้ดีๆ เพราะอาจจะเสี่ยงทำให้เกิดภาวะเสื่อมในไตได้

Cherries and Eyesight.

Why can we say that cherries and eyesight go together? They contain antioxidants as well as the compound bioflavonoid. In addition they contain Vitamins A, C and the B vitamins and minerals such as calcium, potassium, fiber and iron. Many recognize that Vitamin A is the most essential nutrient to maintain eye health.

Many contend that antioxidants can help to prevent eye problems from developing such as macular degeneration. Macular degeneration can lead to blindness of the older population. Cherries as well as many berries are rich in bioflavonoids which is known to strengthen the blood vessels that supply oxygen and vital nutrients to the tissues of the eyes and brain. Cherries are distantly akin to the blueberry. Many other fruits also have these essential antioxidants. A number of other fruits found to be helpful in improving vision are such fruits as apples, grapes and oranges. Vegetables rich in Vitamin A are leafy greens, turnips, tomatoes, peas and, of course carrots. Over the years a regular consumption of soya beans, which is rich in vitamin A, has been found to aid in good eyesight
Thanks English Info From : Cherries and Eyesight - How To Improve Eyesight
http://goo.gl/w134PN

คำแนะนำ

Disclaimer : บทความที่เกี่ยวเนื่องกับเนื้อหาสุขภาพทั้งหมด ทางเว็บไซต์ได้รวบรวมไว้เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทางด้านสุขภาพแก่ผู้เข้าชมเท่านั้น จึงไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงหรือใช้แทนการวินิจฉัยในการรักษาของแพทย์ได้ หากมีการนำข้อมูลในเว็บไซต์ไปใช้โดยไม่ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทางเว็บไซต์จะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้
***ในแต่ละวันควรบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ และทานอาหารให้หลากหลาย ไม่รับประทานอาหารซ้ำๆกันทุกวัน เพื่อประโยชน์ต่อร่างกายและมีสุขภาพที่ดี***
ข้อแนะนำ : ควรศึกษาข้อมูลจากหลากหลายที่ และเปรียบเทียบข้อมูลเพื่อความชัดเจน เพราะข้อมูลบางอย่างอาจจะยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนอย่างชัดเจน และหากมีข้อสงสัยใดๆควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวของท่าน และ/หรือ นักกำหนดอาหาร (dietitian) - นักโภชนาการ (nutritionist)
"Ask Healthy Living" is for informational purposes only and is not a substitute for medical advice. Please consult a qualified health care professional for personalized medical advice.

บทความที่ได้รับความนิยม