HK Vogue : The Asian Inspiration

HK Vogue : The Asian Inspiration Contact : Willy Tel. 093 649 2288 email : hkvoguethailand@gmail.com
Bookmark and Share

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประโยชน์ต่อสุขภาพของถั่วลันเตา Health Benefits of Garden Peas by LASIK Center Laser Vision

ขอบคุณภาพประกอบจาก veggieverymuch.com

Miracle Youcando Healthy Tips ขอบคุณภาพประกอบจาก google ที่มา : LASIK @ Laser Vision International LASIK Center > eye care tips > LASIK HELTH CORNER โทรปรึกษา หรือจองคิวตรวจ โทร 02-511-2111, 02-939-6006 E-mail : info@laservisionthai.com

ประโยชน์ต่อสุขภาพของถั่วลันเตา (Garden Pea)
Health Benefits of Garden Peas.

ถั่นลันเตา ภาษาอังกฤษ Sugar Pea, Sweet peas, Garden Pea, Pea ถั่วลันเตา ชื่อวิทยาศาสตร์ Pisum sativum Linn. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (Fabaceae) และถั่วลันเตายังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกเช่น ถั่วลันเตาเปลือกหนา ถั่วหวาน ถั่วแขก ถั่วลันเตา (ไทย), ถั่วน้อย (พายัพ) เป็นต้น มีถิ่นกำเนิด แถบประเทศ เอธิโอเปีย ต่อมา แพร่กระจายปลูก ในแถบ เมดิเตอร์เรเนียน และเอเชีย และเขตอบ อุ่นต่างๆ ของโลก

ถั่วลันเตา เป็นอีกหรึ่งในพืชตระกูลถั่วที่มีขนาดใหญ่ มีเมล็ดที่โต มีฝักที่เหนียวและแข็งแรงอย่างมาก ถั่วลันเตาแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภท ฝักเหนียว และแข็ง เมล็ดโต นิยมปลูกเพื่อ รับประทานเมล็ด ส่วนอีกชนิดปลูก เพื่อรับประทานฝักสด โดยฝักจะมี ขนาดใหญ่ มีปีก

สรรพคุณของถั่วลันเตา

- ยอดของถั่วลันเตามีเบต้าแคโรทีนสูง ซึ่งช่วยในการบำรุงสายตาและผิวพรรณ (ยอดถั่วลันเตา)
- ใช้บำบัดโรคเบาหวาน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานควรรับประทานเป็นประจำ ด้วยการใช้ฝักอ่อนสดนำมาล้างน้ำให้สะอาดและนำไปต้มจนสุก แล้วนำมารับประทานเป็นจำ
- ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
- ถั่วลันเตา สรรพคุณของเมล็ดช่วยบำรุงไขมัน (เมล็ด)
- ถั่วลันเตาอุดมไปด้วยวิตามินบี วิตามินบี12 และสารเลซิทิน (Lecithin) ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาทมาก จึงช่วยป้องกันอาการขี้หลงขี้ลืมได้
- ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต ด้วยการใช้ฝักถั่วลันเตาทั้งฝักที่ล้างน้ำสะอาดแล้ว นำไปคั้นเอาแต่น้ำให้ได้ประมาณครึ่งถึงหนึ่งแก้ว ใช้ดื่มวันละ 2 ครั้ง ช่วงเช้าและเย็น
- ช่วยขับของเหลวในร่างกาย
- สรรพคุณถั่วลันเตา ช่วยแก้อาการปัสสาวะขัด เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วลันเตา ต่อ 100 กรัม

- พลังงาน 81 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 14.45 กรัม
- น้ำตาล 5.67 กรัม
- เส้นใย 5.1 กรัมถั่วลันเตาแบบกินเมล็ด
- ไขมัน 0.4 กรัม
- โปรตีน 5.42 กรัม
- วิตามินเอ 38 ไมโครกรัม 5%
- เบต้าแคโรทีน 449 ไมโครกรัม 4%
- ลูทีน และ ซีแซนทีน 2,477 ไมโครกรัม
- วิตามินบี1 0.266 มิลลิกรัม 23%
- วิตามินบี2 0.132 มิลลิกรัม 11%
- วิตามินบี3 2.09 มิลลิกรัม 14%
- วิตามินบี6 0.169 มิลลิกรัม 13%
- วิตามินบี9 65 ไมโครกรัม 16%
- วิตามินซี 40 มิลลิกรัม 48%
- วิตามินอี 0.13 มิลลิกรัม 1%
- วิตามินเค 24.8 ไมโครกรัม 24%
- ธาตุแคลเซียม 25 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุเหล็ก 1.47 มิลลิกรัม 11%
- ธาตุแมกนีเซียม 33 มิลลิกรัม 9%
- ธาตุแมงกานีส 0.41 มิลลิกรัม 20%
- ธาตุฟอสฟอรัส 108 มิลลิกรัม 15%
- ธาตุโพแทสเซียม 244 มิลลิกรัม 5%
- ธาตุโซเดียม 5 มิลลิกรัม 10%
- ธาตุสังกะสี 1.24 มิลลิกรัม 13%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
Read more : วิตามิน แร่ธาตุ http://buff.ly/ImgTzX
คุยกับทีมแพทย์เลสิก : http://buff.ly/1i59mpR
More info : http://buff.ly/ImgRrQ
ขอบคุณภาพประกอบจาก veggieverymuch.com

คำแนะนำในการรับประทานถั่วลันเตา

1. ถั่วลันเตาเป็นถั่วที่มีสารพิวรีน (Purine) ปานกลาง ดังนั้นผู้ที่มีกรดยูริกในเลือดสูงผิดปกติ ควรลดปริมาณการรับประทานถั่วลันเตาลงเพราะสารพิวรีนจะทำให้การขับถ่ายกรดยูริกทางปัสสาวะลดลง ส่งผลทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคนิ่ว โรคไตอักเสบ และโรคเกาต์ได้

2. ถั่วลันเตาเป็นหนึ่งในผักที่มักมีสารปนเปื้อนหรือยาฆ่าแลงผสมอยู่ ดังนั้นก่อนการนำมาปรุงอาหารควรล้างให้สะอาดเสียก่อน ด้วยการนำฝักถั่วมาล้างให้สะอาดหลายๆ น้ำ และการล้างผักที่ดีควรแช่ไว้ในน้ำให้ไหลรินสักช่วงเวลาหนึ่ง

3. การเลือกซื้อถั่วลันเตา ควรเลือกฝักที่สดหักแล้วดังเป๊าะ ถ้าหนังเหี่ยวเหนียงยาน ยอมงอไม่ยอมหัก แบบนี้ไม่ควรซื้อมาผัดกิน เมื่อซื้อถั่วลันเตาจากตลาดมาแล้วก็ให้รับนำไปล้างน้ำให้สะอาดแล้วแช่ไว้ในตู้เย็นทันทีเพื่อคงความสด เพราะถ้าหากทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องเพียงแค่ 3 ชั่วโมง ก็จะทำให้ความหวานและความกรอบลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด

Nutritional Profile

While not always recognized as a food unique in phytonutrients, green peas are actually an outstanding phytonutrient source. Flavanols (including catechin and epicatechin), phenolic acids (including caffeic and ferulic acid), and carotenoids (including alpha- and beta-carotene) are among the phytonutrients provided by green peas. Even more unique to this food are its saponins, pisumsaponins I and II and pisomosides A and B. The polyphenol coumestrol is also provided in substantial amounts by this phytonutrient-rich food.

Green peas are a very good source of immune-supportive vitamin C; bone-building vitamin K and manganese; heart-healthy dietary fiber and folate; energy-producing thiamin (vitamin B1); and vision-supportive vitamin A. They are also a good source of

energy-producing iron, phosphorus, niacin, and riboflavin (vitamin B2); heart-healthy vitamin B6 and potassium; bone-healthy copper and magnesium; and muscle-building protein and immune-supportive zinc.
Thanks English Info From : Green peas - The World's Healthiest Foods
http://goo.gl/w8Xz3m

คำแนะนำ

Disclaimer : บทความที่เกี่ยวเนื่องกับเนื้อหาสุขภาพทั้งหมด ทางเว็บไซต์ได้รวบรวมไว้เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทางด้านสุขภาพแก่ผู้เข้าชมเท่านั้น จึงไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงหรือใช้แทนการวินิจฉัยในการรักษาของแพทย์ได้ หากมีการนำข้อมูลในเว็บไซต์ไปใช้โดยไม่ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทางเว็บไซต์จะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้
***ในแต่ละวันควรบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ และทานอาหารให้หลากหลาย ไม่รับประทานอาหารซ้ำๆกันทุกวัน เพื่อประโยชน์ต่อร่างกายและมีสุขภาพที่ดี***
ข้อแนะนำ : ควรศึกษาข้อมูลจากหลากหลายที่ และเปรียบเทียบข้อมูลเพื่อความชัดเจน เพราะข้อมูลบางอย่างอาจจะยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนอย่างชัดเจน และหากมีข้อสงสัยใดๆควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวของท่าน และ/หรือ นักกำหนดอาหาร (dietitian) - นักโภชนาการ (nutritionist)
"Ask Healthy Living" is for informational purposes only and is not a substitute for medical advice. Please consult a qualified health care professional for personalized medical advice.

บทความที่ได้รับความนิยม