HK Vogue : The Asian Inspiration

HK Vogue : The Asian Inspiration Contact : Willy Tel. 093 649 2288 email : hkvoguethailand@gmail.com
Bookmark and Share

วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

คุณค่าทางโภชนาการของขี้เหล็ก The Nutritional Value of Thai Copper Pod by LASIK Center Laser Vision

ขอบคุณภาพประกอบจาก thaiherbalmed.com

Miracle Youcando Healthy Tips ขอบคุณภาพประกอบจาก google

HK Vogue : The Asian Inspiration

"HkVogue Thailand" http://buff.ly/1GR2YNk
Contact : Willy Tel. 093 649 2288
email : hkvoguethailand@gmail.com

คุณค่าทางโภชนาการของขี้เหล็ก (Thai copper pod, Cassod tree) 
The Nutritional Value of Thai Copper Pod.

ขี้เหล็ก (Thai copper pod, Cassod tree) ชื่อวิทยาศาสตร์: Senna siamea Lam. จัดเป็นพืชในวงศ์ Leguminosae

ลักษณะของใบขี้เหล็ก เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับกัน ใบเป็นสีเขียวเข้ม มีใบย่อยรูปรี 5-12 คู่ กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ที่ปลายสุดเป็นใบเดี่ยว ปลายใบเว้าตื้น โคนใบมน ขอบและแผ่นใบเรียบ

ใบขี้เหล็กมีคุณค่าทางโภชนาการที่อุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่ ใบขี้เหล็กเป็นแหล่งของธาตุเหล็ก และดอกขี้เหล็กเป็นแหล่งที่ดีของ provitamin A  vitamin C เบตา-แคโรทีน บำรุงสายตา ผิวพรรณ ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรค ทำให้แผลหายเร็วขึ้น มีฤทธ์ต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง มีเส้นใยอาหารช่วยในการขับถ่าย ในใบขี้เหล็กยังพบสารซึ่งมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง แก้เครียด สงบประสาทได้ดี ช่วยให้นอนหลับสบาย และระงับอาการตื่นตัวทางประสาทได้

โดยใบขี้เหล็ก 100 กรัมจะมีเบต้าแคโรทีน 1.4 มิลลิกรัม, ธาตุแคลเซียม 156 มิลลิกรัม, ธาตุฟอสฟอรัส 190 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 5.8 มิลลิกรัม, เส้นใยอาหาร 5.6 กรัม, โปรตีน 7.7 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 10.9 กรัม, พลังงาน 87 กิโลแคลอรี

ลักษณะของดอกขี้เหล็ก จะออกดอกเป็นช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่ง มีดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงกลมมี 3-4 กลีบ ปลายมน กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายโคนเรียว หลุดร่วงง่าย ก้านดอกจะยาว 1-1.5 เซนติเมตร และมีเกสรตัวผู้หลายอัน และในบรรดาผักผลไม้ไทยทั้งหลายดอกขี้เหล็กก็จัดเป็นผักที่มีวิตามินซีสูงมากที่สุดเป็นอันดับ 1 โดยมีวิตามินซีมากถึง 484 มิลลิกรัมต่อดอกขี้เหล็ก 100 กรัม 

ขี้เหล็ก,ดอก ประกอบด้วยสารอาหารดังต่อไปนี้คือ
- วิตามินเอ ( Total VitaminA (RE) ) 39   Ug
- เบต้า เคโรทีน ( Betacarotene ) 233   Ug
- วิตามินบี 1 ( Thiamin ) .11   Mg
- ไนอะซิน ( Niacin ) 1.8   Mg
- วิตามินซี ( VitaminC ) 484   Mg 
- พลังงาน ( Energy ) 98   KCAL
- น้ำ ( Water ) 74.7   G
- โปรตีน ( Protein ) 4.9   G
- ไขมัน ( Fat ) .4   G
- คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrate ) 18.7   G
- ใยอาหาร( กาก ) ( Crude/ Dietar ) 9.8   G
- เถ้า ( Ash ) 1.3   G
- แคลเซียม ( Calcium ) 13   Mg
- ฟอสฟอรัส ( Phosporus ) 4   Mg
- ธาตุเหล็ก ( Iron ) 1.6   Mg
ที่มา : Vitamin.co.th

ขอบคุณภาพประกอบจาก thaiherbalmed.com

ประโยชน์ของขี้เหล็ก

- ดอกขี้เหล็กมีวิตามิน ที่ช่วยบำรุงและรักษาสายตา (ดอก)
- ใบขี้เหล็กมีสารที่ชื่อว่า “แอนไฮโดรบาราคอล” (Anhydrobarakol)ที่มีสรรพคุณช่วยในการคลายความเครียด บรรเทาอาการจิตฟุ้งซ่าน (ใบ)
- ช่วยบำรุงสมอง บำรุงประสาท แก้โรคประสาท และช่วยสงบประสาท (ดอก)
- ช่วยแก้ลมขึ้นเบื้องสูง เบื้อบน โลหิตขึ้นเบื้องบน ทำให้มีอาการระส่ำระส่ายในท้อง (ฝัก)
- ต้นขี้เหล็กช่วยรักษาหืด (ดอก)
- ช่วยรักษาโรคเบาหวาน (ใบ,แก่น)
- ช่วยลดความดันโลหิตสูง (ใบ)
- ใบขี้เหล็กมีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง (ใบ)
- ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ป้องกันหวัด ช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น (ดอก) เป็นต้น
ที่มา : กรีนเนอรัลด์ เฮลท์

ข้อควรระวัง

อย่าลืมถามผู้ปรุงก่อนว่า ใบขี้เหล็กที่ใช้ต้มน้ำทิ้งแล้วหรือยัง จะได้ประโยชน์ในการกินโดยไม่มีพิษแอบแฝงให้กังวลใจต่อไป

ประมาณปีพ.ศ. 2540 มีการใช้ใบขี้เหล็กอ่อน บดเป็นผง ใส่แคปซูล กินเป็นยานอนหลับ พบว่าได้รับความสนใจและใช้กันมากพอสมควร ต่อมาปี 2542 พบว่าแคปซูลใบขี้เหล็กทำให้เกิดตับอักเสบ

เนื่องจากสารบาราคอลที่มีในใบ จนทำให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศยกเลิกการใช้เป็นยาเดี่ยว อนุญาตให้ใช้เป็นยาตำรับเท่านั้น จึงทำให้มีนักวิทยาศาสตร์หลายคนสงสัยว่า แล้วทำไมแกงขี้เหล็กที่เรากินกันจะเป็นพิษต่อตับด้วยหรือไม่

หลังจากการทดลองหาปริมาณของบาราคอลในใบขี้เหล็กที่ต้มน้ำทิ้ง 2 ครั้ง พบว่า สารบาราคอลเหลืออยู่เพียง 10% เท่านั้น ไม่ทำให้เกิดพิษต่อตับแต่ประการใด อีกทั้งด้วยพฤติกรรมการกินแกงขี้เหล็ก ไม่ได้กินติดต่อกันทุกวันเหมือนกับการกินเป็นยา นั่นเป็นคำตอบว่า ทำไมคนกินแกงขี้เหล็กแล้วไม่เป็นอะไร
ที่มา : ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Senna siamea

Senna siamea (Thai: ขี้เหล็ก, khilek), also known as Kassod Tree, Cassod Tree and (incorrectly) as Cassia tree, is a legume in the subfamily Caesalpinioideae. It is native to South and Southeast Asia, although its exact origin is unknown.

It is a medium-size, evergreen tree growing up to 18 m with beautiful yellow flowers. It is often used as shade tree in cocoa, coffee and tea plantations. In Thailand it is the provincial tree of Chaiyaphum Province and some places in the country are named after it.

Leaves are alternate, pinnately compound, with slender, green-reddish, tinged axis and 6 to 12 pairs of leaflets on short stalks, rounded at both ends.

Use

This plant has medicinal value and it contains a compound named Barakol. The leaves, tender pods and seeds are edible, but they must be previously boiled and the water discarded. They are used in Burmese and also in Thai cuisine where one of the most well-known preparations is Kaeng khilek (Thai: แกงขี้เหล็ก).

Other uses include as fodder plant, in intercropping systems, windbreaks, and shelter belts
Thanks English Info From : Senna siamea From Wikipedia
http://en.wikipedia.org/wiki/Senna_siamea

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), เว็บไซต์ pharmacy.mahidol.ac.th

ข้อมูลอ้างอิง

วิตามิน แร่ธาตุ : วิตามินไบเบิล (vitamin bible) โดย earl mindell
ขี้เหล็ก / Thai copperpod : Food Wiki โดย ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์/ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นิธิยา รัตนาปนนท์
http://goo.gl/TEWzn2
แกงขี้เหล็ก อาหารที่ถูกลืม โดย รองศาสตราจารย์ รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล  ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=101
ขี้เหล็ก : กรีนเนอรัลด์ เฮลท์
http://goo.gl/XSLExe
โภชนาการ ผัก รักษา โรค สารอาหาร - เส้นทางสุขภาพ
http://www.yourhealthyguide.com/article/an-veget-disease.html
Senna siamea From Wikipedia
http://en.wikipedia.org/wiki/Senna_siamea
ขี้เหล็ก สมุนไพรไทย
http://goo.gl/xC36oG
ผักพื้นบ้านต้านโรค โดย พญ.ลลิตา  ธีระสิริ.พิมพ์ครั้งที่ 1 กุมภาพันธุ์ 2543
http://www.agric-prod.mju.ac.th/web-veg/plantlist/pak.htm
NetworkHerbs
http://www.networkherbs.com/herbs_database_general.php?QueryString=value&Page=3

คำแนะนำ

Disclaimer : บทความที่เกี่ยวเนื่องกับเนื้อหาสุขภาพทั้งหมด ทางเว็บไซต์ได้รวบรวมไว้เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทางด้านสุขภาพแก่ผู้เข้าชมเท่านั้น จึงไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงหรือใช้แทนการวินิจฉัยในการรักษาของแพทย์ได้ หากมีการนำข้อมูลในเว็บไซต์ไปใช้โดยไม่ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทางเว็บไซต์จะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้
***ในแต่ละวันควรบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ และทานอาหารให้หลากหลาย ไม่รับประทานอาหารซ้ำๆกันทุกวัน เพื่อประโยชน์ต่อร่างกายและมีสุขภาพที่ดี***
ข้อแนะนำ : ควรศึกษาข้อมูลจากหลากหลายที่ และเปรียบเทียบข้อมูลเพื่อความชัดเจน เพราะข้อมูลบางอย่างอาจจะยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนอย่างชัดเจน และหากมีข้อสงสัยใดๆควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวของท่าน และ/หรือ นักกำหนดอาหาร (dietitian) - นักโภชนาการ (nutritionist)
"Ask Healthy Living" is for informational purposes only and is not a substitute for medical advice. Please consult a qualified health care professional for personalized medical advice.

บทความที่ได้รับความนิยม